เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย
*******************************
è ชื่อมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง
(ชื่อของมหาวิทยาลัยตั้งขึ้นตามพระนามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหา กษัตริย์ไทยที่ได้ทรงริเริ่มคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น ซึ่งทำให้ประเทศไทยได้มีอักษรไทยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาติไทยใช้กันต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้)
è อักษรย่อ: ม.ร.
è ชื่อมหาวิทยาลัยภาษาอังกฤษ: Ramkhamhaeng University
è อักษรย่อ: RU
è ปี พ.ศ. ที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัย: พ.ศ. 2514
มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นสถาบันการศึกษาแบบ “ตลาดวิชา”
è วันสถาปนามหาวิทยาลัย: 26 พฤศจิกายน
วันสำคัญที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงรำลึกอยู่ในความทรงจำตลอดมา คือ วันที่ 26 เดือนพฤศจิกายน ปีพุทธศักราช 2518 เป็นวันมหามงคลยิ่งของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก) พร้อมทั้งพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ในวโรกาสมหามงคลยิ่งนี้ มหาวิทยาลัยจึงถือเอาวันที่ 26 พฤศจิกายน เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง นับแต่บัดนั้นมา ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2568 จะเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย ครบรอบ 54 ปี และในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2569 เป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย ครบรอบ 55 ปี ตามลำดับ
ชาวรามคำแหงตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันทุกคน ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาที่สุดมิได้ตลอดมา...และจะสถิตอยู่ในดวงใจของชาวรามคำแหงทุกคน...ตลอดไป
è เครื่องหมายราชการของมหาวิทยาลัย*
ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 148
วันที่ 16 กันยายน 2526 (ฉบับพิเศษ หน้า 1 - หน้า 3)
è สีประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง: “สีน้ำเงิน-ทอง”
è ต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง: “สุพรรณิการ์” (ฝ้ายคำ)
เมื่อวันที่ 15 เดือนมกราคม ปีพุทธศักราช 2542 มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพันธุ์ไม้ชื่อ “สุพรรณิการ์” (ฝ้ายคำ) ให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ทรงพระกรุณาพระราชทานพันธุ์ไม้ชื่อ “สุพรรณิการ์” เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง
è เอกลักษณ์: มหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาควบคู่แบบจำกัดจำนวน
è อัตลักษณ์: ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม
è วิสัยทัศน์: มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นตลาดวิชาดิจิทัล ที่ให้บริการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
è ค่านิยมองค์การ: ซื่อสัตย์ จริงใจ โปร่งใส ยุติธรรม และภักดีต่อองค์กร
è ปรัชญา: ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม
è ปณิธาน: พัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหงให้เป็นแหล่งวิทยาการแบบตลาดวิชาควบคู่แบบจำกัดจำนวน มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม และจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
è พันธกิจ: มหาวิทยาลัยยึดหลักการจัดการอุดมศึกษา ในการรับผิดชอบต่อสังคม
มีเสรีภาพทางวิชาการ มีความเป็นอิสระ มีความเสมอภาคและธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการในพันธกิจดังนี้
1. การจัดการศึกษา
2. การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม
3. การบริการวิชาการแก่สังคม
4. การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
5. การบริหารจัดการตามอำนาจและหน้าที่ ที่กฎหมายกำหนด
è รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย ลำดับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย ดังนี้
1. จอมพลถนอม กิตติขจร (2514 – 2515)
2. พลเอกแสวง เสนาณรงค์ (2515 – 2517)
3. ศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย (2517 – 2546)
4. นายประจวบ ไชยสาส์น (2546 – 2556)
5. นายวิรัช ชินวินิจกุล (2556 – 2561)
6. นายชีพ จุลมนต์ (2562 – 2563)
7. นายวีระพล ตั้งสุวรรณ (ปัจจุบัน)
è รายนามอธิการบดีมหาวิทยาลัย ลำดับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยจวบจนปัจจุบัน ดังนี้
1. ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
2. ศาสตราจารย์กำธร พันธุลาภ
3. รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรมย์ ณ นคร
4. รองศาสตราจารย์สุขุม นวลสกุล
5. ศาสตราจารย์ ดร.ธรรมนูญ โสภารัตน์
6. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
7. รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข
8. รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สืบพงษ์ ปราบใหญ่
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ (ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยกรรมการสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง)
è คำขวัญของมหาวิทยาลัย: คำขวัญของมหาวิทยาลัยได้มีขึ้นตั้งแต่ระยะแรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยจนปัจจุบัน ตามลำดับดังนี้
· “รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ” เป็นคำขวัญคำแรกที่อดีตอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ เป็นผู้คิดขึ้นเมื่อระยะแรกเริ่มมหาวิทยาลัย
· “เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง” คำขวัญของมหาวิทยาลัยที่ชนะการประกวด เมื่อปี พ.ศ. 2527
· “สร้างความรู้สู่สากล สร้างคนคู่คุณธรรม” เป็นคำขวัญที่ชนะการประกวดคำขวัญเนื่องในโอกาส 40 ปี รามคำแหง เมื่อเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2554
(จากนี้ ยังมีวลีในยุคแรกเมื่อปี 2514 ที่ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ เป็นอธิการบดี ที่ใช้ใน “ข่าวรามคำแหง” คือ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน หรือ อตฺตา หิ อตฺตาโน นาโถ” จึงเป็นคำที่อยู่ในความรู้สึกนึกคิดของนักศึกษาจวบจนปัจจุบัน ซึ่งจะต้องศึกษาโดยพึ่งพาตนเองมากที่สุดเพราะเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา จะมาเรียนก็มีชั้นเรียนให้ ไม่มาเรียนก็ศึกษาจากตำราและสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเอง)
è สีประจำคณะ/สาขาวิชา ดังนี้
1. คณะนิติศาสตร์ สีขาว
2. คณะบริหารธุรกิจ สีฟ้า
3. คณะมนุษยศาสตร์ สีแสด
4. คณะศึกษาศาสตร์ สีชมพู
5. คณะรัฐศาสตร์ สีแดงเข้ม
6. คณะวิทยาศาสตร์ สีเหลือง
7. คณะเศรษฐศาสตร์ สีม่วง
8. สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สีเลือดหมู
9. สาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน สีเขียวตองอ่อน
10. สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ สีเขียว
11. สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ สีครีมทอง
12. สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สีเทา
13. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สีน้ำตาล
è เพลงมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยชุดเพลง 4 ชุด ตามลำดับดังนี้
1. ปี 2518 จำนวน 14 เพลง
2. ปี 2530 ชุดแสงทองที่ราม จำนวน 16 เพลง
3. ปี 2543 ชุดสุพรรณิการ์ จำนวน 13 เพลง
4. ชุดราม ฯ 3 ทศวรรษ จำนวน 11 เพลง
è หน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ปัจจุบัน ประกอบด้วย คณะและบัณฑิตวิทยาลัย
ปัจจุบัน ประกอบด้วยคณะต่าง ๆ 14 คณะ ได้แก่ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะทัศนมาตรศาสตร์ คณะสื่อสารมวลชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีโครงการที่จะเปิดคณะใหม่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดแรงงาน
è สถาบัน/สำนัก ที่สนับสนุนการเรียนการสอนและการบริหาร ประกอบด้วย สำนัก สถาบัน จำนวน 14 หน่วยงาน ดังนี้
สำนักงานอธิการบดี สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล สำนักหอสมุดกลาง สำนักเทคโนโลยีการศึกษา สำนักพิมพ์ สำนักกีฬา สำนักประกันคุณภาพการศึกษา สถาบันคอมพิวเตอร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา สถาบันการศึกษานานาชาติ สถาบันภาษา สถาบันศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน สถาบันบริการวิชาการทางอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนี้ ยังมีสำนักงานสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ และสำนักงานของสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค อีก 23 หน่วยงาน ซึ่งสังกัดสำนักงานอธิการบดี
è หลักสูตรที่เปิดสอน:
· ระดับปริญญาตรี
· ระดับปริญญาโท
· ระดับปริญญาเอก
· การเลือกเรียนรายกระบวนวิชา
è สถานที่ตั้ง:
· มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ที่หัวหมาก กรุงเทพ ฯ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก เป็นสถานที่ตั้งที่ทำการของทุกคณะ/สำนัก/สถาบันต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางการบริหารและการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และจัดกิจกรรมต่าง ๆ
· มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา (กรุงเทพ ฯ) ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 8 ถนนบางนา – ตราด เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนกระบวนวิชาชั้นปีที่ 1 ของระดับปริญญาตรี และใช้เป็นสถานที่สอนระดับปริญญาโทบางโครงการ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ
· สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค ใน 23 จังหวัด ได้แก่ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาคจัดตั้งตามลำดับ ดังนี้ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุทัยธานี นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี อำนาจเจริญ นครพนม แพร่ นครราชสีมา สุโขทัย ขอนแก่น ศรีสะเกษ ตรัง ลพบุรี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ บุรีรัมย์ อุดรธานี กาญจนบุรี สุรินทร์ เชียงราย สงขลา เชียงใหม่ และพังงา
è ศูนย์สอบ:
· ศูนย์สอบในส่วนภูมิภาค มีจำนวน 41 แห่ง (ใน 39 จังหวัด) การจัดสอบของมหาวิทยาลัยรามคำแหง นอกจากจัดสอบที่ส่วนกลาง ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก) และวิทยาเขตบางนาแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้อำนวยความสะดวกให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีในส่วนภูมิภาคสอบใกล้บ้าน โดยจัดให้มีศูนย์สอบส่วนภูมิภาคในจังหวัดต่าง ๆ ขึ้น 39 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ พิษณุโลก แพร่ สุโขทัย อุทัยธานี อุตรดิตถ์ อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครพนม นครราชสีมา หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด สกลนคร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี เลย ลพบุรี จันทบุรี กาญจนบุรี นครปฐม นครสวรรค์ ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สุพรรณบุรี สระแก้ว ชุมพร นครศรีธรรมราช (มีศูนย์สอบ 2 แห่ง) สงขลา (มีศูนย์สอบ 2 แห่ง) สุราษฎร์ธานี ตรัง และพังงา
· ศูนย์สอบในต่างประเทศ มีใน 32 ประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ในต่างประเทศ ซึ่งได้ให้ความอนุเคราะห์สถานที่สอบและดำเนินการจัดสอบประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา เบลเยียม ฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ไอซ์แลนด์ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน สาธารณรัฐฟินแลนด์ บาห์เรน รัฐสุลต่านโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รัฐกาตาร์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และเวียดนาม
· ศูนย์สอบในต่างประเทศ มีจำนวน 41 แห่ง (ใน 32 ประเทศ) ซึ่งจัดสอบที่สถานเอกอัครราชทูตไทย และสถานกงสุลใหญ่ ณ ประเทศนั้น ๆ ได้แก่ กรุงออตตาวา นครแวนคูเวอร์ กรุงวอชิงตัน ดี ซี นครนิวยอร์ก นครลอสแอนเจลิส นครชิคาโก กรุงบรัสเซลส์ กรุงปารีส กรุงเบอร์ลิน นครแฟรงก์เฟิร์ต กรุงเรคยาวิก กรุงโรม กรุงเฮก กรุงวอร์ซอ กรุงมาดริด กรุงเบิร์น กรุงเวียนนา กรุงลอนดอน กรุงโคเปนเฮเกน กรุงออสโล กรุงสตอกโฮล์ม กรุงเฮลซิงกิ กรุงมานามา กรุงมัสกัต นครดูไบ กรุงโดฮา กรุงแคนเบอร์รา นครซิดนีย์ กรุงเวลลิงตัน กรุงพนมเปญ กรุงนิวเดลี กรุงจาการ์ตา กรุงโตเกียว นครโอซากา กรุงกัวลาลัมเปอร์ กรุงโซล สิงคโปร์ กรุงปักกิ่ง นครกว่างโจว นครเซี่ยเหมิน นครโฮจิมินห์ (และยังจัดให้มีศูนย์สอบพิเศษที่ประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพ ฯ)
è สถาบันการศึกษานานาชาติ จัดการเรียนการสอนหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ ปัจจุบันมีนักศึกษาชาวไทยและชาวต่างประเทศจากทั่วโลกเรียนที่สถาบันการศึกษานานาชาติ นอกจากนักศึกษาที่มาเรียนหลักสูตรต่าง ๆ แล้ว ในแต่ละปียังมีนักศึกษาแลกเปลี่ยนระยะสั้นจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมาเรียนรายวิชาอีกเป็นจำนวนมาก
è ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัย/สถาบัน/องค์กรต่างประเทศที่มีการลงนามความร่วมมือ (MOU) จำนวน 21 แห่ง ใน 12 ประเทศ
è ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัย/สถาบัน/องค์กรในประเทศที่มีการลงนามความร่วมมือ จำนวน 23 ฉบับ
è จำนวนนักศึกษาที่มีสถานภาพปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 145,058 คน (ตุลาคม 2566)
è จำนวนผู้ที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่รุ่นแรกถึงปัจจุบัน (ถึงรุ่นที่ 48) รวมทั้งสิ้น 1,086,643 คน
è จำนวนบุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 3,645 คน (ประกอบด้วยสายวิชาการ 1,108 คน สายสนับสนุน 2,537 คน ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2566)
è โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประกอบด้วย
· โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) เปิดสอนภาคภาษาไทยและโครงการภาษาอังกฤษ
· โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) เปิดสอนทั้งภาคภาษาไทยและภาคภาษาอังกฤษ
· โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (วิทยาเขตบางนา) เปิดสอนทั้งภาคภาษาไทยและภาคภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายโครงการโรงเรียนต้นแบบเข้าสู่ระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงเต็มรูปแบบในส่วนภูมิภาค อีกหลายโรงเรียน
è เว็บไซต์มหาวิทยาลัย คือ http://www.ru.ac.th
แหล่งข้อมูล: หน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
(ข้อมูล เดือนตุลาคม 2566)